วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบหมุนเวียนเลือด


ระบบหมุนเวียนเลือดของคน ประกอบไปด้วย
  1. หัวใจ ( Heart )
  2. หลอดเลือด ( Blood  Vessel )
  3. เลือด ( Blood )
1. หัวใจ ( Heart )  หัวใจ ของคนตั้งอยู่ในบริเวณทรวงอก ระหว่างปอดทั้งสองข้าง ค่อนไปทางซ้าย ภายในมีลักษณะ เป็นโพรงแบ่งออกเป็น 4 ห้อง  โดยแบ่งเป็นห้องบน 2  ห้อง  เรียกว่า เอเตรียม ( Atrium ) ห้องล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนตริเคิล ( Ventricle )  หัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้ายมี
ลิ้นไบคัสปิด ( Bicuspid ) คั่นอยู่  ส่วนห้องบนขวาและล่างขวามีลิ้นไตรคัสปิด ( Tricuspid) คั่นอยู่ ซึ่งลิ้นทั้ง 2 ทำหน้าที่คอยเปิด-ปิด เพื่อไม่ให้ ้เลือด ไหลย้อนกลับ  หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดโดยการบีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเป็น จังหวะ  ทำให้เลือดไหลไปตามหลอดเลือดต่าง ๆ

 เราสามารถตรวจสอบการทำงานของหัวใจ  โดยการจับชีพจร
    อัตราการเต้นของชีพจรของคนในสภาพปกติอยู่ระหว่าง 60-80 ครั้งต่อนาที
รูป  แสดง หัวใจคน และการหมุนเวียนของเลือดผ่านหัวใจ
 

2.  หลอดเลือด ( Blood  Vessel )  การ หมุนเวียนของเลือดจากหัวใจไปและกลับจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั้นต้อง อาศัยหลอดเลือด ซึ่งมีอยู่ ทั่วร่างกาย  หลอดเลือดในร่างกายคนเราแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
                1.  หลอดเลือดอาร์เทอรี ( Arteries )  เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดนี้เป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนมาก ยกเว้นเลือดที่ส่งไปยังปอด ซึ่งเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก หลอดเลือดอาร์เทอรีมีผนังหนาไม่มีลิ้นกั้น มีความแข็งแรง  เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงดันเลือดที่ถูกฉีดออกจากหัวใจ
                2.  หลอดเลือดเวน ( Vein ) เป็น หลอดเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดนี้เป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง ยกเว้นเลือดที่นำจากปอดมายังหัวใจ จะเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง ภายในหลอดเลือดนี้จะมีลิ้นป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ   
                3.  หลอดเลือดฝอย ( Capillaries ) เป็น หลอดเลือดที่มีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอยติดต่ออยู่ระหว่างแขนงเล็ก ๆ ของหลอดเลือดอาร์เทอรีและหลอดเลือดเวน หลอดเลือดฝอยมีผนังบางมาก เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนสารอาหาร แก๊ส และสิ่งต่าง ๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกาย
3 เลือด ( Blood ) ในร่างกายคนเรามีเลือดอยู่ประมาณร้อยละ 9-10 ของน้ำหนักตัว เลือดมีส่วนประกอบ  ที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
1.  ส่วนที่เป็นของเหลว ซึ่ง เรียกว่า น้ำเลือด หรือพลาสมา ( Plasma ) มีอยู่ประมาณร้อยละ55 ของปริมาณเลือดที่ไหลอยู่ในร่างกาย  ในน้ำเลือดประกอบด้วยน้ำ ร้อยละ 91 นอกนั้นเป็นสารอื่น ๆ ได้แก่ สารอาหารต่าง ๆ  เอนไซม์  ฮอร์โมน และแก๊ส รวมทั้งของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ เช่น ยูเรีย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  เป็นต้น น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร  เอนไซม์ ฮอร์โมน และแก๊สกลับไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และลำเลียงของเสียต่าง ๆ มายังปอดเพื่อขับออกจากร่างกาย
2.  ส่วนที่เป็นของแข็ง ด้แก่ เซลล์เม็ดเลือด และเกล็ดเลือด ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 45 ของปริมาณเลือดทั้งหมด
     2.1  เซลล์เม็ดเลือดมีอยู่ 2 ชนิด คือ
            1) เซลล์เม็ดเลือดแดง ( Red Blood Cell ) มี รูปร่างค่อนข้างกลมแบน ตรงกลางบุ๋มเข้าหากัน เมื่อโตเต็มที่ไม่มีนิวเคลียส ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน ซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ   ฮีโมโกลบิน มีสมบัต ิในการรวมตัว กับแก๊ส ออกซิเจน ได้ดีมาก  เซลล์เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปสู่ปอดเพื่อทำการแลกเปลี่ยนแก๊ส  เซลล์เม็ดเลือดแดงสร้างที่ไขกระดูก และเซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 110-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกส่งไปทำลายที่ตับและม้าม
           2)  เซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood cell ) มี รูปร่างกลม ขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง ไม่มีนิวเคลียส   เซลล์เม็ดเลือดขาว ในร่างกาย มีอยู่หลายชนิด ทำหน้าที่ต่อต้านและทำลาย เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม ที่เข้าสู่ร่างกาย   แหล่งที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้แก่ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง  เซลล์เม็ดเลือดขาวมีอายุประมาณ 7-14 วัน ก็จะถูกทำลาย
    2.2  เกล็ดเลือด ( Blood Platelet ) ป็น ส่วนประกอบของเลือดที่ไม่ใช่เซลล์ มีขนาดเล็กมาก ไม่มีสี ไม่มีนิวเคลียส ทำหน้าที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อเลือดออกสู้ภายนอกร่างกาย และช่วยห้ามเลือดในกรณีที่เกิดบาดแผล โดยจับรวมตัวกันเป็นกระจุกร่างแหอุดรูของหลอดเลือดฝอยทำให้เลือดหยุดไหล แหล่งที่สร้างเก,ดเลือดได้แก่ ไขกระดูก เกล็ดเลือดมีอายุ 4 วันเท่านั้นก็จะถูกทำลาย
                    
วัคซีน  เป็นเชื้อโรคที่ตายหรืออ่อนฤทธิ์ ฉีดเข้าร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคนั้น ๆ
เซรุ่ม คือ  แอนติบอดีที่ได้จากคนหรืสัตว์ซึ่งการให้เซรุ่มจะให้กับร่างกายในกรณีที่โรค นั้นแสดงอาการอย่างรวดเร็วและรุนแรง ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทันและหรือไม่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน


1. เลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำ จะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา  (Right Atrium ) 
2. เมื่อหัวใจบีบตัวเลือดจะไหลจากหัวใจห้องบนขวา ผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา ( Right  Ventricle )
3. เมือหัวใจห้องล่างขวาบีบตัว เลือดจะไหลเข้าสู่หลอดเลือดไปยังปอด  เมื่อมีการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจน เลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูงจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ( Left  Atrium )
4. เมื่อหัวใจห้องบนซ้ายบีบตัว เลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างซ้าย(Left Ventricle )
5. เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เลือดจะไหลเข้าสู่หลอดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเมื่อเลือดมีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำก็จะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนชวาเป็น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป

ระบบหายใจ

          จากความรู้ในระบบหมุนเวียนเลือด  นอกจากเลือดจะลำเลียงอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว
ภายในเลือดยังมีแก๊สสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ แก๊สออกซิเจน(O2) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) อยู่ด้วย
          ระบบหายใจ คือ ระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยร่างกายจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกเข้าสู่
ร่างกาย และขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย  อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่ จมูก  หลอดลม ปอด  กล้ามเนื้อกระบังลมและกระดูกซี่โครง
          จมูก ทำหน้าที่ในการนำอากาศเข้าสู่ร่างกายและรับรู้กลิ่น  ภายในจมูกจะมีขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองและมีเยื่อเมือกหนาบุอยู่ คอยดักจับเชื้อโรคและมีกลุ่มประสาทสัมผัสกลิ่นคอยรับกลิ่น  อากาศที่สูดหายใจเข้าไปเมื่อผ่านโพรงจมูกแล้วจะลงสู่คอหอย  ลิ้นไก่ จะช่วยปิดโพรงจมูกและช่องปากเพื่อมิให้อากาศไหลกลับ
          หลอดลม จะทอดลงไปในช่องอกปลายแยก เป็นขั้วปอดทั้งสองข้าง เป็นท่อทางผ่านของอากาศและออกจากปอดที่ใหญ่ที่สุด
          ปอด  เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วยถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ถุงเหล่านี้ยืดหยุ่นและหดตัวได้ ปอดจะตั้งอยู่ภายในทรวงอกทั้งสองข้าง ตรงกลางระหว่างขั้วปอดเป็นที่ตั้งของหัวใจ  ปอดซีกขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าปอดซีกซ้าย  ปอดทั้งสองข้างทำหน้าที่เหมือนกันคือฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง  โดยการถ่ายเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) และน้ำ(H2O)  ออก  แล้วเติมออกซิเจน(O2 )  เข้าไป       
          กระบังลมและซี่โครง  เป็นกลไกในการหายใจ  กล่าวคือ ขณะที่ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีปริมาณมาก  สมองจะสั่งงานมายังกระบังลมและซี่โครง ให้กระบังลมหดตัวและซี่โครงเคลื่อนตัวสูงขึ้นทำให้เกิดการหายใจเข้า หรือ ขณะที่กระบังลมขยายตัว และซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออก